บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก ตุลาคม, 2020

การควบคุมและวงจรนิวแมติกส์ไฟฟ้า

รูปภาพ
  การควบคุมและวงจรนิวแมติกส์ไฟฟ้า บทความนี้ยังคงอยู่ในส่วนของความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ  วงจรนิวเมติกส์  นะครับ โดยเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับพื้นฐานการควบคุมการทำงานของระบบนิวเมติกส์ และวงจรนิวเมติกส์ไฟฟ้า ไปลุยกันเลยครับ ในระบบการควบคุมงานทางด้านนิวแมติกส์ไฟฟ้า สามารถแบ่งส่วนประกอบที่สำคัญออกได้เป็นสองส่วนด้วยกัน คือ วงจรนิวแมติกส์หรือวงจรกำลัง ( Pneumatic Circuit ) วงจรไฟฟ้าหรือวงจรควบคุม ( Electric Circuit ) วงจรรักษาสภาพ (The Holding Circuit) วงจรรักษาสภาพในความหมายก็คือ เมื่อมีการกดสวิทซ์สั่งงานทั่วไปแล้ววงจรจะมีการทำงานอยู่ตลอดเวลาแม้ว่าจะไม่ได้กดสวิทซ์แล้วก็ตาม รูปที่ 2 หลักการของการรักษาสภาพ จากวงจรในรูป 2 วงจรยังไม่สามารถเนื่องจากหลังจากที่กดสวิทซ์ “No” ไปแล้ววงจรจะทำงานตลอดเวลาไม่สามารถหยุดได้ นอกจากหยุดหรือปลดแหล่งจ่ายไฟ (แบตเตอรี่) ออกจากวงจร จากเหตุผลดังกล่าวจึงต้องมีสวิทซ์อีกตัวไว้สำหรับการหยุดการทำงาน โดยจะเป็นสวิทซ์แบบปกติปิด รูปที่ 4 วงจรรักษาสภาพตามมาตรฐาน ISO การประยุกต์ใช้งานวงจรรักษาสภาพ รูปที่ 5 จากรูป : เมื่อกำหนดให้ a1 คือ ลิมิตสวิทซ์ที่ติดไว้ที่ปลายกระ...

กระบอกสูบ

รูปภาพ
  กระบอกสูบ ตุลาคม 11, 2563   กระบอกลม/กระบอกสูบนิวเมติก (Air Cylinder/Pneumatic Cylinder)  จะทำหน้าที่เปลี่ยนพลังงานลมอัดให้เป็นพลังงานกล ลักษณะในการเคลื่อนที่ส่วนมากเป็นการเคลื่อนที่แบบเส้นตรง ในสมัยก่อน ที่ลูกสูบลมจะเข้ามามีบทบาทในงานอุตสาหกรรมยังใช้กลไกทางกลและทางไฟฟ้า   มีความยุ่งยากในการควบคุม และปัญหาของช่วงชักจำกัด   ดังนั้นในอุตสาหกรรมสมัยใหม่จึงพัฒนาลูกสูบลมมาใช้ในงานจนถึงปัจจุบัน   ตัวกระบอกลมมักจะทำด้วยท่อชนิดไม่มีตะเข็บ เช่น เหล็ก อะลูมิเนียม   ทองเหลือง สแตนเลสขึ้นอยู่กับลักษณะงานที่ใช้ ภายในท่อ   จะต้องเจียรนัยให้เรียบ   เพื่อลดการสึกหรอของซีลที่จะเกิดขึ้น และยังลดแรงเสียดทานภายในกระบอกสูบอีกด้วย   ตัวฝาสูบทั้งสองด้านส่วนใหญ่นิยมการหล่อขึ้นรูป บางแบบอาจใช้การอัดขึ้นรูป   การยึดตัวกระบอกสูบลมเข้ากับฝาอาจใช้เกลียวขัน   เหมาะสำหรับกระบอกสูบที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางต่ำกว่า  25  มิลลิเมตรลงมา   ถ้าโตกว่านี้นิยมใช้สกรูร้อยขันรัดหัวท้าไว้   สำหรับก้านสูบอาจทำด้วยสแตนเลสหรือเหล็กชุบผิวโครเมียม   ที่...

Solenoid valve

รูปภาพ
  Solenoid valve ตุลาคม 11, 2563 หลักการทำงานของโซลินอยด์วาล์ว(Solenoid valve)                         โซลินอยด์ (Solenoid)   เป็นอุปกรณ์แม่เหล็กไฟฟ้าชนิดหนึ่ง ที่มีหลักการทำงานคล้ายกับรีเลย์(Relay) ภายในโครงสร้างของโซลินอยด์จะประกอบด้วยขดลวด ที่พันอยู่รอบแท่งเหล็กที่ภายในประกอบด้วยแม่เหล็กชุดบนกับชุดล่าง เมื่อมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านขดลวดที่พันรอบแท่งเหล็ก ทำให้แท่งเหล็กชุดล่างมีอำนาจแม่เหล็กดึงแท่งเหล็กชุดบนลงมาสัมผัสกันทำให้ครบวงจรทำงาน เมื่อวงจรถูกตัดกระแสไฟฟ้าทำให้แท่งเหล็กส่วนล่างหมดอำนาจแม่เหล็ก สปริงก็จะดันแท่งเหล็กส่วนบนกลับสู่ตำแหน่งปกติ จากหลักการดังกล่าวของโซลินอยด์ก็จะนำมาใช้ในการเลื่อนลิ้นวาล์วของระบบนิวแมติกส์ การปิด-เปิดการจ่ายน้ำหรือของเหลวอื่นๆ โครงสร้างของ Solenoid โดยทั่วไปแบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ เลื่อนวาล์วด้วยโซลินอยด์วาล์วกลับด้วยสปริง (Single Solenoid Valve) และเลื่อนวาล์วด้วยโซลินอยด์วาล์วกลับด้วยโซลินอยด์วาล์ว (Double Solenoid Valve) ในที่นี้ใช้แบบ เลื่อนวาล์วด้วยโซลินอยด์วาล์วกลับด้วยสปริง (Si...

นิวเมติกส์ (pneumatic)

รูปภาพ
  นิวเมติกส์ (pneumatic) ตุลาคม 11, 2563   หลักการทำงาน Pneumatics Control นิวเมติกส์ (pneumatic)  เป็นคำที่มาจาก pneuma ซึ่งเป็นภาษากรีกโบราณ หมายความว่า “ก๊าซที่มองไม่เห็น” ในปัจจุบันนิวเมติกส์หมายถึงระบบที่ใช้อากาศอัดส่งไปตามท่อลมเพื่อเป็นตัวกลางในการถ่ายทอดกำลังงานของไหลให้เป็นกำลังงานกล โดยระบบการทำงานของนิวเมติกส์นั้นจะประกอบไปด้วยอุปกรณ์พื้นฐาน ดังนี้ 1.  อุปกรณ์ต้นกำลังนิวแมติก (power unit)  ทำหน้าที่สร้างลมอัดเพื่อนำไปใช้ในงานระบบนิวแมติก ประกอบไปด้วย อุปกรณ์ขับ (driving unit)  ทำหน้าที่ขับเครื่องอัดอากาศ เครื่องอัดอากาศ (air compressor)  ทำหน้าที่อัดอากาศที่ความดันบรรยากาศ ให้มีความดันสูงกว่าบรรยากาศปกติ เครื่องกรองอากาศขาเข้า (intake filter)  ทำหน้าที่กรองอากาศก่อนที่จะนำไปเข้าเครื่องอัดอากาศ เพื่อให้อากาศที่จะอัดปราศจากฝุ่นละออง เพราะถ้าอากาศที่อัดมีฝุ่นละอองจะทำให้เกิดความเสียหายแก่เครื่องอัดอากาศและจะทำให้ระบบมีประสิทธิภาพต่ำได้ เครื่องหล่อเย็น (aftercooler)  ทำหน้าที่ในการหล่อเย็นอากาศอัด ให้เย็นตัวลง เครื่องแยกน้ำมันและความชื้...